นายกองสิน  วิเศษศิลปธร
นายกองสิน วิเศษศิลปธร
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโนข่า
เมนูหลัก
บุคลากร
ข้อมูลหน่วยงาน
เอกสารเผยแพร่
จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์
online ขณะนี้
2   คน
สถิติวันนี้
61   คน
สถิติทั้งหมด
288475   คน
เริ่มนับวันที่ 10 มีนาคม 2552

ประเภทของ อบต. 

ปัจจุบันมีการแก้ไขประเภทของ อบต.แบ่งเป็น 3 ขนาด คือ 

    1.อบต.ขนาดใหญ่ 

    2.อบต.ขนาดกลาง 

    3.อบต.ขนาดเล็ก 

แต่เดิมนั้น อบต. แบ่งออกตามลำดับได้เป็น 5 ประเภทและมีจำนวนองค์การบริหารส่วนตำบลทั่วประเทศ ประจำปี 2543ดังนี้

    อบต. ชั้นที่ 1 จำนวน อบต. 74 แห่ง

    อบต. ชั้นที่ 2 จำนวน อบต. 78 แห่ง

    อบต. ชั้นที่ 3 จำนวน อบต. 205 แห่ง

    อบต. ชั้นที่ 4 จำนวน อบต. 844 แห่ง

    อบต. ชั้นที่ 5 จำนวน อบต. 5196 แห่ง

    อบต. ชั้นที่ 5 จัดตั้งใหม่ (14 ธันวาคม 2542) จำนวน อบต. 349 แห่ง

    รวม อบต. ทั่วประเทศทั้งสิ้นจำนวน 6746 แห่ง

ระดับชั้นและเกณฑ์การแบ่งระดับองค์การบริหารส่วนตำบล

องค์การบริหารส่วนตำบล มีความสำคัญต่อท้องถิ่นเป็นอย่างมาก เพราะเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีขนาดเล็กที่สุด แต่ใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด โดยเฉพาะประชาชนในพื้นที่ชนบท องค์การบริหารส่วนตำบลเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เปิดโอกาสให้ประชาชนในชุมชนระดับตำบล หมู่บ้านได้เข้ามามีส่วนร่วมในการปกครองตนเองตามระบอบประชาธิปไตย

ก่อนที่จะมีการยุบรวม อบต. เข้ากับราชการส่วนท้องถิ่นรูปแบบอื่น และตั้งสภาตำบลเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลเพิ่มมากขึ้นนั้น มีองค์การบริหารส่วนตำบลประมาณ 6,500 แห่ง (ณ วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2550) โดยมีการแบ่งระดับออกเป็น 5 ชั้น ตามระดับของรายได้ ดังนี้

(1) อบต. ชั้น 1 รายได้ตั้งแต่ 20 ล้านบาทขึ้นไป 

(2) อบต. ชั้น 2 รายได้ระหว่าง 12 - 20 ล้านบาท 

(3) อบต. ชั้น 3 รายได้ระหว่าง 6 - 12 ล้านบาท 

(4) อบต. ชั้น 4 รายได้ไม่เกิน 6 ล้านบาท 

(5) อบต. ชั้น 5 รายได้ไม่เกิน 3 ล้านบาท

ต่อมาเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ได้มีการยุบรวม อบต. เข้ากับราชการส่วนท้องถิ่นรูปแบบอื่น และตั้งสภาตำบลเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลเพิ่มขึ้น ปัจจุบันจึงมีจำนวนองค์การบริหารส่วนตำบลจำนวนทั้งสิ้น 6,725 แห่งและมีการเปลี่ยนแปลงการแบ่งกลุ่ม อบต. เป็น 3 ขนาด คือ

1) อบต.ขนาดใหญ่ (ส่วนใหญ่จะเป็น อบต. ชั้น 1 เดิม) 

2) อบต.ขนาดกลาง (ส่วนใหญ่จะเป็น อบต. ชั้น 2 และ อบต. ชั้น 3 เดิม) 

3) อบต.ขนาดเล็ก (ส่วนใหญ่จะเป็น อบต. ชั้น 4 และ อบต. ชั้น 5 เดิม)

โดยมีหลักเกณฑ์สำคัญที่ใช้แบ่งขนาด อบต. มี 5 เกณฑ์ที่สำคัญ ดังนี้

1) เกณฑ์ระดับรายได้

    (1) รายได้ไม่รวมเงินอุดหนุนสูงกว่า 20 ล้านบาท เป็น อบต.ขนาดใหญ่ 

    (2) รายได้ไม่รวมเงินอุดหนุน 6-20 ล้านบาท เป็น อบต.ขนาดกลาง 

    (3) รายได้ไม่รวมเงินอุดหนุนต่ำกว่า 6 ล้านบาท เป็น อบต.ขนาดเล็ก

2) เกณฑ์ตัวชี้วัดด้านค่าใช้จ่ายบุคลากร

3) เกณฑ์ตัวชี้วัดด้านเศรษฐกิจและสังคม 

    (1) จำนวนพื้นที่ 

    (2) จำนวนประชากร 

    (3) จำนวนโครงสร้างพื้นฐาน 

    (4) จำนวนโรงฆ่าสัตว์ 

    (5) จำนวนตลาดสด 

    (6) จำนวนโรงงานนิคมอุตสาหกรรม 

    (7) จำนวนโรงเรียน 

    (8) จำนวนศูนย์พัฒนาเด็ก 

    (9) จำนวนโรงแรม 

    (10) จำนวนศาสนสถาน 

    (11) จำนวนสถานพยาบาล 

    (12) จำนวนศูนย์การค้า 

    (13) การประกาศให้ อบต. เป็นเขตควบคุมอาคาร 

    (14) การประกาศให้ใช้บังคับกฎหมายว่าด้วยการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อย 

    (15) จำนวนวัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 

    (16) จำนวนวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือด้านการกำจัดขยะและสิ่งปฏิกูล 

    (17) จำนวนโครงสร้างส่วนราชการ 

    (18) จำนวนหน่วยกิจการพาณิชย์

4) เกณฑ์ตัวชี้วัดด้านประสิทธิภาพในการปฏิบัติ 

    (1) ประสิทธิภาพด้านการจัดเก็บรายได้ 

    (2) ประสิทธิภาพด้านการบริหารแผนงานและงบประมาณ 

    (3) ประสิทธิภาพและประสิทธิผลด้านงานบุคคล 

    (4) ประสิทธิภาพและประสิทธิผลด้านการบริการ

5) เกณฑ์ตัวชี้วัดด้านธรรมาภิบาล 

    (1) หลักนิติธรรม 

    (2) หลักคุณธรรม 

    (3) หลักความโปร่งใส 

    (4) การมีส่วนร่วมของประชาชน 

    (5) หลักความรับผิดชอบ 

    (6) ความคุ้มค่า



เข้าชม : 4344